วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นิทานเวตาลเรื่องที่10

นิทานเวตาลเรื่องที่10
เนื้อเรื่อง
       เวตาลกล่าวว่า ครั้งนี้ข้าพเจ้าเขม่นตาซ้ายหัวใจเต้นแรง แลตาก็มืดมัวเหมือนลางไม่ดีเสียแล้ว  แต่ข้าพเจ้าจะเล่าเรื่องจริงถวาย แลเหตุที่ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายที่ต้องถูกแบกหามไปหามมา
        ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
         ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร   ครั้นกษัตริย์ทั้งสององค์ทรงกระทำสัญญาแบ่งนางกันดังนี้แล้ว ก็ชักม้าตามรอยเท้านางเข้าไปในป่า
       พระราชากับพระราชบุตรก็เชิญนางทั้งสองขึ้นบนหลังม้าองค์ละองค์ นางพระบาทเขื่องคือพระราชธิดาขึ้นทรงม้ากับท้าวจันทรเสน นางพระบาทเล็กคือพระมเหสีขึ้นทรงช้างกับพระราชบุตร สี่องค์ก็เสด็จเข้ากรุง
        กล่าวสั้นๆ ท้าวจันทรเสน แลพระราชบุตรก็ทำวิวาหะทั้งสองพระองค์ แต่กลับคู่กันไป คือพระราชบิดาวิวาหะกับพระราชบุตรี  พระราชบุตรวิวาหะกับพระมเหสี แลเพราะเหตุที่คาดขนาดเท้าผิด ลูกกลับเป็นเมียพ่อ แม่กลับเป็นเมียลูก ลูกกลับเป็นแม่เลี้ยงของผัวตัวเอง แลแม่กลับเป็นลูกสะใภ้ของผัวแห่งลูกตน  แลต่อมาบุตรแลธิดาก็เกิดจากนางทั้งสอง แลบุตรแลธิดาของนางทั้งสองก็มีบุตรแลธิดาต่อๆกันไป
เวตาลเล่ามาเพียงครู่หนึ่ง แล้วกล่าวต่อไปว่า
    “บัดนี้ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาทูลถามพระองค์ว่า ลูกท้าวจันทรเสนที่เกิดจากธิดาท้าวมหาพลลูกพระมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราชบุตรท้าวจันทรเสนนั้น จะนับญาติกันอย่างไร
     พระวิกรมาทิตย์ได้ทรงฟังปัญหาก็ทรงตรึกตรองเอาเรื่องของพ่อกับลูก  แม่กับลูก แลกับน้องมาปนกันยุ่ง แลมิหนำซ้ำมาเรื่องแม่เลี้ยงกับแม่ตัว  แลลูกสะใภ้กับลูกตัวอีกเล่า
        พระราชาทรงตีปัญหายังไม่ทันแตก พอนึกขึ้นได้ว่าการพาเวตาลไปส่งคืนโยคีนั้นจะสำเร็จก็ด้วยไม่ทรงตอบปัญหา จึงเป็นอันทรงนิ่งเพราะจำเป็นแลเพราะสะดวก  ก็รีบสาวก้าวดำเนินเร็วขึ้น ครั้นเวตาลทูลเย้าให้ตอบปัญหาด้วยวิธีกล่าวว่าโง่ จะรับสั่งอะไรไม่ได้ ก็ทรงกระแอมเวตาลทูลถามว่า
          รับสั่งตอบปัญหาแล้วไม่ใช่หรือ”   อ่านเพิ่มเติม



ข้อคิด

  ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
          หากมนุษย์รู้จักใช้ปัญญาคิดไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วยและรอบด้าน แม้ปัญหาจะยากเย็นซับซ้อน เพียงใดก็สามารถ   แก้ไขหรือทำความเข้าใจได้เสมอ  แต่การใช้ปัญญาเพียงอย่างเดียวมิอาจแก้ปัญหาทุกสิ่งได้เสมอไป  มนุษย์ต้องมีสติกำกับปัญญาของตนด้วยการใช้สติปัญญาควบคู่กันไป   คือหลักสำคัญในการนำมนุษย์ไปสู่ความสำเร็จ  อีกทั้งคำพู   อ่านเพิ่มเติม

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

คำศัพท์ 


กระเหม่น เขม่น               คือ              อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเบาๆ ขึ้นเอง ตามลัทธิโบราณถือว่า
                                                          เป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดี
โกรศ                                                 มาตราวัดความยาว เท่ากับ 500 คันธนู
เขื่อง                                                 ค่อนข้างใหญ่ ค่อนข้างโต
คุมกัน                                               รวมกลุ่มกัน
เครื่องประหลาด                                 สิ่งที่ทำให้คนประหลาดใจในความว่า ความสาวของพระนางเป็นเครื่อ   อ่านเพิ่มเติม

จุดมุ่งหมายในการแต่งนิทานเวตาล

จุดมุ่งหมายในการแต่งนิทานเวตาล

 จุดประสงค์

1. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาเรื่องนิทานเวตาล
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถขอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านได้
พระวิกรมาทิตย์หรือพระวิกรมเสน กษัตริย์ในตำนานของอินเดียโบราณ ได้รับปากกับโยคีชื่อศานติศีล” จะไปนำตัวเวตาล อมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายศพมนุษย์ผส  อ่านเพิ่มเติม

ความรู้เพิ่มเติม

ความรู้เพิ่มเติม

     เวตาล เป็นอมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายค้างคาวผี ตามความเชื่อในนิทานปรัมปราของศาสนาฮินดู กล่าวกันว่า ในตอนกลางวัน เวตาลจะมีชีวิตอยู่ในซากศพของผู้อื่น และศพเหล่านี้จะถูกเวตาลใช้เป็นเครื่องมือในการเดินทาง หากเวตาลเข้าไปอาศัยร่างของศพใด  ซากศพนั้นก็จะไม่เน่าเหม็น ส่วนตอนกลางคืน เวตาลจะออกมาจากศพเพื่อออกหากิน  แต่หากค้นหาความหมายของคำว่า เวตาล ในพจนานุกรมฉบั   อ่านเพิ่มเติม

วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี

วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี

คุณค่าด้านเนื้อหา
นิทานเวตาลมีความดีเด่นด้านเนื้อหา  คือ  ให้ข้อคิดและแฝงคติธรรม  รวมทั้งความรู้ต่าง ๆ ไว้ดังนี้
    ความอดทนอดกลั้น  เป็นคำสอนในทุกศาสนา  กล่าวถึง  "ขันติ"  คือ  ความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ต่าง ๆ ไม่เป็นทาสอารมณ์  พระวิกรมาทิตย์เป็นปราชญ์ผู้เก่งกล้า  รอบรู้  และอยู่ในวรรณะกษัตริย์ที่สูงส่ง  ย่อมไม่ยอมให้ใครดูหมิ่นศักดิ์ศรีว่   อ่านเพิ่มเติม

เรื่องย่อ

เรื่องย่อ
        ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
   ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุ     อ่านเพิ่มเติม

ลักษณะคำประพันธ์

ลักษณะคำประพันธ์
      นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว    โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า สำนวน น.ม.ส.”  อ่านเพิ่มเติม

ประวัติผู้เเต่ง

ประวัติผู้เเต่ง
 พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส ประสูติเมื่อ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2419 เป็นพระราชโฮรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรองค์สุดท้ายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ทรงฝึกฝนภาษาอังกฤษ  ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงธรรมการและกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ  ทรงไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทรงริเริ่มนำระบบการสหกรณ์เข้ามาเผยแพร่ในไทย  สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2488  รวมพร  อ่านเพิ่มเติม

ความเป็นมา

ความเป็นมา
      นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ

ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรี  อ่านเพิ่มเติม